พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๒๗ ก หน้า ๒๙ ถึงหน้า ๔๓ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๑ ซึ่งมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มีหลักการปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติ ฯ ว่า “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้การจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมสําหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ให้เป็นตามที่กําหนดในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ ส่ิงแวดล้อม อันเป็นการไม่สอดคล้องกับมาตรา ๕๘ และมาตรา ๒๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งบัญญัติให้มีการจัดทํากฎหมายที่จําเป็นเพื่อกําหนดให้การดําเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใด ดําเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพส่ิงแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสําคัญอ่ืนใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ต้องดําเนินการ ให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนท่ีเกี่ยวข้องก่อน เพื่อนํามาประกอบ การพิจารณาดําเนินการหรืออนุญาตตามกฎหมาย ประกอบกับกระบวนการและขั้นตอนการจัดทํา การเสนอ และการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ได้ใช้บังคับเป็นเวลานานแล้ว และในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วน ในการดํารงไว้ซึ่งการรักษาคุณภาพส่ิงแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”
กฎหมายว่าด้วยการประเมินผบกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาวิชา วล. ๓๖๗ กฎหมายสิ่งแวดล้อม สามารถชม จัดเก็บ หรือพิมพ์สไลด์ประกอบการบรรยาย เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับวันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
กฎหมายว่าด้วยมลพิษ
เพื่อประโยชน์ในการศึกษา เรื่อง กฎหมายว่าด้วยมลพิษ ในวันจันทร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๑ ขอให้นักศึกษาวิชา น. ๒๐๙ กฎหมายสิ่งแวดล้อม
๑. ทบทวนทฤษฎี หลักวิชาการ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมลพิษต่าง ๆ ที่เคยศึกษามาแล้ว และ
๒. ศึกษาบทบัญญัติว่าด้วยมลพิษในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมทั้งกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง)
เป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถค้นคว้ากฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กฎหมายว่าด้วยการพาณิชย์ และอุตสาหกรรม
เพื่อประโยชน์ในการศึกษา เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการพาณิชย์ และอุตสาหกรรม ในวันจันทร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ ขอให้นักศึกษาวิชา วล. ๓๖๗ กฎหมายสิ่งแวดล้อม ศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้เป็นการล่วงหน้า
- พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐
- พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓
- พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘
- พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. ๒๕๐๓
- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑
- พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๐
- พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑
- พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
- พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐
- พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
- พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล พ.ศ. ๒๕๓๐
กฎหมายว่าด้วยการจัดการทรัพย์สิน และที่ดิน
เพื่อประโยชน์ในการศึกษา เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการจัดการทรัพย์สิน และที่ดิน ในวันจันทร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ขอให้นักศึกษาวิชา วล. ๓๖๗ กฎหมายสิ่งแวดล้อม ศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้เป็นการล่วงหน้า
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- ประมวลกฎหมายที่ดิน
- พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘
- พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
- พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘
- พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑
- พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๕๘
- พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๔๗
- พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
- พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒
- พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕
- พระราชบัญญัติทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ๒๕๔๒
- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
- พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
- พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร ศก ๑๒๑
- พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. ๒๕๒๖
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖
- พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๑๘
- พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ
นักศึกษาวิชา วล. ๓๖๗ กฎหมายสิ่งแวดล้อม สามารถชม จัดเก็บ หรือพิมพ์สไลด์ประกอบการบรรยาย เรื่อง From the Rule of Law to the Environmental Rule of Law สำหรับวันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
อนึ่ง เพื่อประโยชน์ของนักศึกษาเอง นอกจากศึกษาสไลด์ประกอบการบรรยายเรื่องดังกล่าวแล้ว ขอให้นักศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้เป็นการล่วงหน้าด้วย
- พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
- พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘
- พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔
- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
- พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗
- พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
- พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
- พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช ๒๔๖๔
- พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
- พระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์สัตว์ พ.ศ. ๒๕๐๙
- พระราชบัญญัติพันธ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘
- พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
- พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
- พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๓๔
- พระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
- พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๑