การวิเคราะห์ร่างกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งบรรยายเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น ๓ อาคารอเนกประสงค์ ๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เป็นการบรรยายตามโครงการฝึกอบรนพัฒนาข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งนิติกรให้เป็นนักกฎหมายนิติบัญญัติ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาร่วมกับสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดให้แก่ข้าราชการตำแหน่งนิติกรของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อพัฒนาข้าราชการรัฐสามัญในตำแหน่งนิติกรให้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการร่างกฎหมาย เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านกฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามความรับผิดชอบของรัฐสภา
สาระของการบรรยายเรื่องนี้ประกอบด้วยการอภิปรายสี่ส่วนใหญ่ๆ กล่าวคือ
- ความหมายและขอบเขตของกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี
- เทคนิคการศึกษา ค้นคว้าและทำความเข้าใจข้อมูล ข่าวสารหรือความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี
- ตัวอย่างกฎหมายหรือร่างกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี และ
- ปัญหาในการวิเคราะห์ร่างกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องนี้ ได้แก่
- Amos Salvador, Energy: a historical perspective and 21st Century forecast (AAPG, 2006), pp3-93 and 131-147.
- กัญจนา บุณยเกียรติ และชวลิต งามจรัสศรีวิชัย, เทคโนโลยีแก๊สธรรมชาติ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑), หน้า ๑-๕๕ และ ๒๒๑-๒๔๔.
- B David Naidu, Biotechnology & nanotechnology: regulation under environmental, health, and safety laws (Oxford, 2009), pp1-66 and 295-309.
- Matti Häyry, Rationality and the genetic challenge: making people better? (Cambridge, 2010), pp1-51, 174-194 and 220-240.
- พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐
- พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐